โรคออกเสียงลำบากซึ่งเกิดจากกล้ามเนื้อเกร็งเป็นความผิดปกติของเสียงซึ่งเกิดจากการหดเกร็งมากเกินไปของกล้ามเนื้อก
ล่องเสียงหรือกล้ามเนื้ออวัยวะที่ใช้ในการเปล่งเสียง
โดยปกติเมื่อพูดเสียงจะขาดและจะต้องเผชิญความยากลำบากในการเริ่มต้นออกเสียงพูด
รวมทั้งในการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง
โรคออกเสียงลำบากซึ่งเกิดจากกล้ามเนื้อเกร็งเป็นหนึ่งในโรคดิสโทเนียซึ่งเกิดจากระดับการบิดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ
และเราได้นำชื่อโรคดิสโทเนียมาใช้สำหรับโรคที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเกิดจากความผิดปกติของเสียงพูด
โดยเฉพาะอย่ายิ่งโรคนี้ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการพูดอันเนื่องมาจากความตึงและความเกร็งที่ไม่เหมาะสมซึ่งมี
ผลต่อรูปแบบการออกเสียง และในบางกรณีอาจเกิดการกระตุกของกล้ามเนื้อเฉพาะที่ร่วมด้วย
ตามสถิติของสหรัฐอเมริกา ณ ปัจจุบัน
จำนวนของผู้ป่วยโรคออกเสียงลำบากที่เกิดจากกล้ามเนื้อเกร็งโดยไม่ทราบสาเหตุในสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ประมาณ 50,000
ถึง 100,000 คน ส่วนในประเทศเกาหลียังไม่มีข้อมูลทางสถิติที่ชัดเจนเกี่ยวกับผู้ป่วยโรคสายเสียงหดเกร็ง
แต่สันนิษฐานอยู่ที่ 2,000 – 3,000 คน
โรคออกเสียงลำบากซึ่งเกิดจากกล้ามเนื้อเกร็งจำแนกประเภทตามอาการของโรคในแต่ละช่วงอายุ
เมื่ออาการของโรคเกิดขึ้นก่อนอายุ 20 ปี เราเรียกว่า ประเภทเด็กทารก เมื่ออาการของโรคเกิดขึ้นหลังอายุ 20 ปี
เราเรียกว่าประเภทผู้ใหญ่
แพทย์หลายท่านคิดว่าปัญหาทางด้านจิตใจเป็นสาเหตุของโรคออกเสียงลำบากที่เกิดจากกล้ามเนื้อเกร็ง
เพราะอาการจะดีขึ้นเมื่อดื่มแอลกอฮอล์หรือยาระงับประสาทและอาการจะแย่ลงเมื่อได้รับความเครียดหรือพูดคุยโทรศัพท์
ในปี 1980 ตามผลงานวิจัยเกี่ยวกับเส้นประสาทสมองพบว่า สาเหตุของโรคออกเสียงลำบากที่เกิดจากกล้ามเนื้อเกร็งเกิด
จากการบีบเกร็งที่ ผิดปกติของกล้ามเนื้อกล่องเสียง อันเนื่องมาจากการทำงานที่ไม่สอดคล้องกันของปมประสาทบาซัลซึ่งเป็นที่รวมของเส้นประสาทส่วนกลาง
อย่างไรก็ตาม ดร. ลุดโลว์ จากสถาบันโรคทางระบบประสาทแห่งชาติของสถาบันสุขภาพแห่งชาติได้พิสูจน์ว่า สาเหตุของ
โรคออกเสียงลำบากที่เกิดจากกล้ามเนื้อเกร็งคือ ระบบประสาทที่ผิดปกติของ Nucleus Tractus of Solitarius ผู้ป่วยจึง
สูญเสียการควบคุมกล้ามเนื้อสายเสียงซึ่งส่งผลให้การพูดลำบากและมีอาการเสียงกระตุก
- ประเภทช่องสายเสียง
- ประเภทส่วนที่อยู่เหนือสายเสียงจนถึงฝาปิดกล่องเสียง
- การบิดเกร็งของกล้ามเนื้อร่วมกับอาการสั่น
- ประเภท adductor ร่วมกับอาการสั่น
- ประเภท Abductor-adductor
(ประเภท Abductor ร่วมกับอาการของประเภท adductor)
- ประเภท Adductor-abductor
ประเภท Adductor ร่วมกับอาการของประเภท abductor)
อันดับแรก ท่านจะได้รับการทดสอบการออกเสียง จากนั้นคุณจะได้รับการตรวจวัดการกระตุกเกร็งกล้ามเนื้อสายเสียงใน
ขณะที่พูดรวมทั้งทดสอบการกระตุกหรือการสั่นที่มากเกินไปของกล้ามเนื้อกล่องเสียงโดยใช้เครื่องส่องตรวจกล่องเสียง
จากนั้น เราจะทำการตรวจวัดความเปลี่ยนแปลงของความถี่พื้นฐานเสียงด้วยการตรวจวัดด้านอะคูสติกและการสังเกต
รูปคลื่นเสียงที่เปล่งออกผ่านสเปกโตรแกรม (spectrogram) จากนั้นเราใช้การทดสอบ electro-glottography และวัด
ความต้านทานของกล่องเสียงผ่านการตรวจวัดอากาศพลศาสตร์
การตรวจกล่องเสียงด้วยสโตรโบสโคปเพื่อตรวจสอบการเคลื่อนไหวของกล่องเสียงและ
การตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อกล่องเสียงจะช่วยให้เราพบการเคลื่อนไหวของกล่องเสียงและสายเสียงที่ผิดปกติ
นอกจากนี้การใช้เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อกล่องเสียงยังสามารถช่วยสังเกตความผิดปกติของพยาธิสรีระและ
ประเมินความเป็นไปได้ของการรักษาให้หาย
เราใช้ระบบถ่ายภาพกล่องเสียงความเร็วสูงซึ่งนำมาใช้เป็นแห่งแรกในเอเชียเพื่อที่จะหาจุดที่กล้ามเนื้อกระตุกได้อย่าง
แม่นยำ การฉีดโบท็อกซ์เข้าไปในกล้ามเนื้อโดยตรงในปริมาณที่น้อยมากจะช่วยให้คงสภาพเสียงที่ดีได้โดยไม่มีช่วงที่เสียงแหบ
มีการใช้ยาแอนติโคลีน ยากล่อมประสาท ยาบาโคลเฟน และโดพามีน แอนตาโกนิสต์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การรักษา ด้วยยามีผลข้างเคียงที่รุนแรงและใช้เฉพาะสำหรับความผิดปกติของกล้ามเนื้อที่รุนแรงเท่านั้น การักษาด้วยยาเป็นการ รักษาวิธีสำรองสำหรับโรคออกเสียงลำบากที่เกิดจากกล้ามเนื้อเกร็งซึ่งเกิดจากการเกร็งหรือกระตุกของกล้ามเนื้อ
ในปัจจุบัน การฉีดโบท็อกซ์เป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ก็เป็นวิธีการรักษาชั่วคราวที่ช่วยทำให้เสียงดีขึ้นเป็น
เวลา 3 – 6 เดือนหลังจากนั้นเสียงก็จะค่อยๆกลับสู่สภาพเดิม การรักษานี้ต้องการการฉีดยาอย่างต่อเนื่องเพื่อคงเสียงที่ดีไว้
ในการฉีดโบท็อกซ์จำเป็นต้องใช้ทักษะขั้นสูงร่วมกับการตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อเพื่อที่จะคงประสิทธิภาพของโบท็อกซ์แล
ะเพื่อให้ระยะเวลาของการมีเสียงแหบสั้นลง
วิธีนี้ช่วยทำให้เสียงปกติแบบปกติโดยการควบคุมปฏิกิริยาสะท้อนของเส้นประสาทสมอง
ข้อดีของการรักษาด้วยวิธีนี้ คือ หากทำการรักษาอย่างต่อเนื่อง ความถี่ในการฉีดซ้ำจะน้อยลง จากผลลัพธ์ที่ได้ ประมาณ
60 % ของผู้ป่วยหายขาดจากหลังจากการรักษาภายใน 3 – 4 ปี
ณ ปัจจุบัน ทางเยซอนคลินิกให้การรักษาด้วยวิธีนี้และนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่พึงพอใจอย่างสูง
ดูข้อมูลการรักษาด้วยโบท็อกซ์
ศาสตราจารย์ ดีโด้ได้ทำการผ่าตัดด้วยวิธี Hemilaryngectomy เป็นครั้งแรกในปี 1976
แต่เนื่องจากการกลับมาเป็นซ้ำและอาการที่ทรุดลงจึงทำให้ไม่ทำการผ่าตัดนี้อีกต่อไป ตั้งแต่นั้น
ดร.ทักเกอร์ได้ทำการผ่าตัดด้วยวิธีThyroid chondroplasty ในปี 1989 และ ดร.อิสชิกิ
ได้ทำการผ่าตัดตามขั้นตอนที่คล้ายกันในปี 2000
อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์ที่ได้ไม่ดีอย่างที่คาดการณ์ ตามที่ได้มีการติดตามระยะยาวถึงผลลัพธ์ซึ่งได้ถูกนำเสนอในนิตยสาร
Laryngoscope ซึ่งเป็นนิตยสารด้านหูคอจมูกที่ดีที่สุด (ได้ระบุว่า มีผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดประมาณ 33 %
เท่านั้นที่ได้รับประโยชน์จากการผ่าตัด) และผู้เชี่ยวชาญหลายท่านได้สรุปเกี่ยวกับการรักษาด้วยโบท็อกซ์ว่าจนถึง ณ
ตอนนี้เป็นวิธีเดียวและวิธีที่ดีที่สุดสำหรับโรคนี้
การผ่าตัดอีกวิธีที่ได้ถูดคิดค้นขึ้นโดยดร.จีแน็ค และ ดร.วู ในปี 1993 พวกเขาได้ทำการผ่าตัดด้วยเทคนิค Vocalis muscle
cordotomy โดยการผ่ากล้ามเนื้อสายเสียงส่วนเล็กๆส่วนหนึ่ง และจากนั้นดร.วาตานาเบะได้ปรับเทคนิคการศัลยกรรมโดย
การเพิ่มการรักษาด้วยเลเซอร์และการปลูกถ่ายไขมันเข้าไปด้วยซึ่งวิธีของดร.วูไม่ประสบความสำเร็จแต่วิธีของดร.วาตานา
เบะประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่
ตามวิธีผ่าตัด การทำเลเซอร์อาจสามารถนำมาใช้ อย่างไรก็ตาม หนึ่งในผลข้างเคียงที่ตามมา คือ เสียงแหบแห้ง
การฉีดไขมันได้ถูกนำมาใช้เพื่อที่จะกำจัดปัญหานี้
แต่สำหรับผลในระยะยาวของการผ่าตัดนี้ยังคงต้องได้รับการตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติม
ในปี 1993 ดร. เบิร์กได้รายงานเกี่ยวกับ การผ่าตัดเลือกเอาเส้นประสาทกล้ามเนื้อกล่องเสียงบางส่วนออก และในปี
1989 ดร.เฟรนด์แมนได้ลองทำการผ่าตัดโดยใช้วิธี การปลูกถ่ายตัวกระตุ้นเส้นประสาทของสายเสียง
หลังจากได้นำวิธีการผ่าตัดที่หลากหลายมาใช้ในการรักษาแล้ว ยังไม่มีวิธีใดที่ทำให้ได้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ
รวมถึงจากประสบการณ์การผ่าตัดที่ผ่านมาของเยซอนคลินิกเช่นเดียวกัน โดยสรุป จนถึง ณ ปัจจุบัน
การฉีดโบท็อกซ์เป็นวิธีการรักษาโรคดิสโทเนียที่เกิดจากการหดเกร็งได้ดีที่สุด