ความผิดปกติในการออกเสียงประเภทนี้คือการใช้เสียงที่ผิดปกติ ทั้งๆที่ลักษณะทางกายวิภาคและโครงสร้างของสายเสียง ทำงานปกติ แต่ความผิดปกตินี้เกิดจากการใช้เสียงในทางที่ผิดหรือนิสัยการชดเชยการใช้เสียงตามสภาพของกล่องเสียง
- เสียงหายจากการเปลี่ยนแปลง
- เสียงแหบเป็นนิสัย
- เสียงสูงผิดธรรมชาติที่ไม่เหมาะสม
- การใช้เสียงในทางที่ผิด
- เสียงผิดปกติหลังได้รับการผ่าตัด
- เสียงหายซ้ำๆ
เมื่อโรคดิสโทเนียเชิงฟังก์ชันเกิดจากปัจจัยเชิงฟังก์ชัน สายเสียงปกติเมื่อตรวจด้วยเครื่องตรวจกล่องเสียง และสโตรโบสโค กล้ามเนื้อด้านนอกกล่องเสียงมีการใช้งานมากเกินไปเพื่อผลิตเสียง ขณะที่เปล่งเสียงกล่องเสียงจะ ยกขึ้น ในแง่ของปัจจัยเชิงกายภาพ คุณสามารถสังเกตเห็นความผิดปกติของเยื่อเมือกหรือการเจริญเติบโตที่ไม่เต็มที่ ของกล่องเสียงและสายเสียง
เสียงสูงผิดธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงภายใต้โครงสร้างกล่องเสียงที่ปกติทำให้เกิดเสียงสูง เสียงอ่อนแอ
และบางครั้งเหมือนเสียงผู้หญิง การออกเสียงจะเหนื่อยง่ายและยากต่อการร้องเพลง โทนเสียงจะคงระดับสูง เป็นโทนเดียว
และยากที่จะเปล่งเสียงต่ำ ไม่สามารถร้องเพลงที่มีระดับเสียงสูงได้
สามารถแบ่งแยกโดยปัจจัยที่แตกต่างกัน 2 ประการ คือ เชิงฟังก์ชันและเชิงกายภาพ
ส่วนใหญ่ปัจจัยเชิงฟังก์ชันมีสาเหตุมาจากปัญหาทางด้านจิตใจ ชายหนุ่มวัยเริ่มเจริญพันธุ์ล้มเหลวในการยอมรับบทบาทผู้ใหญ่ของพวกเขาหรือประสบความเครียดทางอารมณ์จากการเป ลี่ยนแปลงของช่วยวัยรุ่นและทำเสียงให้สูงขึ้น
ปัจจัยเชิงกายภาพส่วนใหญ่มีสาเหตุมากจากความผิดปกติขของเยื่อบุกล่องเสียง การหดตัวหรือแผลบริเวณเยื่อเมือกหรือ การด้อยพัฒนาของกล่องเสียงกล่องเสียงทำให้โครงสร้างสายเสียงกลายเป็นเหมือนสายเสียงของผู้หญิง
กรณีที่โรคดิสทีเนียเชิงฟังก์ชันเกิดจากปัจจัยเชิงฟังก์ชัน สามารถรักษาได้ด้วยการบำบัดเสียงหรือบำบัด การพูดอย่างไรก็ตาม เนื่องจากจำเป็นต้องใช้การฝึกระยะยาว ดังนั้นในปัจจุบัน ได้ทำการฉีดโบท็อกซ์เข้าในกล้ามเนื้อเพิ่ม โทนเสียงก่อน จากนั้นจึงรักษาต่อด้วยการบำบัดเสียงและเมื่อโทนเสียงต่ำล จึงจะสามารถเรียนรู้รูปแบบการออกเสียงที่ ถูกต้องได้ วิธีการรักษานี้สามารถประหยัดเวลาในการรักษาและฟื้นฟูเสียงที่มีสุขภาพดีกลับมาได้ กรณีที่โรคดิสทีเนียเชิงฟังก์ชันเกิดจากปัจจัยทางกายภาพ จะทำการรักษาตามอาการด้วยวิธี Percutaneous Injection Surgery วิธี Pulsed Dye Laser surgery หรือการผ่าตัดกระดูกอ่อนไทรอยด์