การตรวจนี้เป็นการวัดวิเคราะห์สเกลการเพิ่มขึ้นของเสียงของคนไข้
การวัดระดับความแหบของเสียง ความหยาบของเสียง เสียงลมหายใจ ความอ่อนแรงของเสียง ความตึงของเส้นเสียง โดยการแบ่งระดับออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ ระดับ 0 1 2 3
บันทึกและประเมินระดับความแหบของเสียงโดยใช้ visual analog scale(0~100)
ก่อนการทดสอบเสียง ผู้ป่วยเป็นคนประเมินสภาพเสียงของตนเอง จากนั้นขณะทดสอบเสียง ให้คนไข้อ่านออกเสียงคำหรือประโยคด้วยเสียงดังปกติและใช้ระดับเสียงที่ตนเองรู้สึกสบายประมาณ 2 – 3 นาที ผู้ประเมินฟังเสียงของคนไข้และประเมินระดับเสียงของคนไข้ตามวิธีด้านบนอย่างเป็นกลาง
เสียงพูดเกิดจากลมที่เปล่งออกมาจากปอดผ่านอวัยวะต่างๆผ่านหลอดคอผ่านกล่องเสียงทำให้เกิดการสั่นสะเทือน และใน ขณะนั้นอากาศที่สูดเข้าไปทำให้เกิดพลังที่ทำให้เกิดเสียง ดังนั้นการตรวจวัดการเคลื่อนที่ของอากาศเป็นสิ่งจำเป็นต่อหา ความผิดปกติของเสียง
การตรวจนี้เป็นการตรวจวัดดัชนีเสียงซึ่งวัดจากคุณลักษณะการเคลื่อนไหวของเสียงและการตรวจวัดสายเสียงจากสภาวะ การออกเสียงโดยรวม อุปกรณ์ในการตรวจวัดคือ MDVP(Multi-Dimensional Voice Program) CSL(Computerized Speech Laboratory) และ RTP(Real time Pitch) ซึ่งหลังจากจะบันทึกไฟล์เสียงแล้วจะนำไฟล์ เสียงนั้นมาวิเคราะห์ความถี่พื้นฐานเสียง สเปกตรัม ฮิสโทแกรม และดัชนีสเปกโตรแกรม
การตรวจวัดช่วงเสียงสามารถบอกความดังของเสียงและลักษณะการออกเสียงจากช่วงเสียงของตนเองโดยการออกเสียงตัวโน๊ต 5 ตัว การตรวจนี้วัดจากเสียงช่วงอก เสียงช่วงศีรษะ และเสียงหลบ แกนแนวนอนบอกถึงระดับความสูงต่ำของเสียงและแกนแนวตั้งบอกความดังของเสียง
การตรวจกล่องเสียงแบบส่องกล้องเป็นการติดตัวเซนเซอร์ขนาดเล็กไว้ที่ปลายท่อเครื่องซึ่งมีลักษณะโค้งประกอบด้วยใย แก้วนำแสงทำให้ภาพที่ได้จากกล้องมีความคมชัดและความละเอียดสูงทำให้ความผิดพลาดในการวินิจฉัยลดลง
การตรวจนี้เป็นการดูภาพการเคลื่อนไหวของเยื่อเมือกสายเสียงได้ชัดเจน ขณะที่ออกเสียงเกิดการสั่นสะเทือนของสาย
เสียงทำให้สามารถเห็นความผิดปกติของสายเสียงได้
Tการตรวจวิธีนี้เป็นการใช้เทคนิคภาพลวงตา ดวงตาของคนเราเมื่อได้เห็นภาพใดเป็นเวลาประมาณ 2 วินาที จะทำให้เกิด
ภาพติดตาชั่วขณะ
เราติดตัวเซนเซอร์ไว้ที่คอ และสังเกตระยะการสั่นสะเทือนของสายเสียง
และใช้ไมค์ที่ติดกับกล้องแปลงความถี่พื้นฐานเสียงด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จากนั้นใช้หลอด xenon
ส่องแสงเข้าไปซ้ำๆเพื่อทำการสังเกตกล่องเสียง
เราสามารถทำการสังเกตระดับความเร็วของการเคลื่อนไหวของสายเสียง
รวมทั้งเราสามารถสังเกตสภาพนิ่งของสายเสียงได้อีกด้วย
การตรวจกล่องเสียงด้วยกล้องถ่ายวีดีโอความเร็วสูง สามารถถ่ายการสั่นสะเทือนของสายเสียงได้ 1 วินาที 2000 ครั้ง การตรวจด้วยวิธีนี้ไม่เพียงแค่ทำให้สามารถสังเกตความผิดปกติของการสั่นสะเทือนและการเกร็งตัวของสายเสียงได้เท่านั้น แต่ยังสามารถตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงและระดับความตึงของสายเสียงได้จากความผิดปกติของการสั่นสะเทือนของสายเ สียง การหดตัวของกล้ามเนื้อเสียง และนอกจากนั้นสามารถตรวจรูปแบบการออกเสียงที่ใช้สายเสียงมากเกินไปขณะออกเสียงได้อีกด้วย
กล้องวีดีโอความเร็วสูงนี้ ไม่เพียงแค่ให้ภาพสีที่คมชัดละเอียดเท่านั้น แต่ด้วยเทคนิคความเร็วสูง (สูงสุด 5000เฟรมต่อวินาที) ทำให้สามารถบันทึกภาพลักษณะการสั่นสะเทือนของกล่องเสียงที่เกิดขึ้นจริงขณะนั้นได้
ในกรณีที่มีความบกพร่องทางภาษา (การพูด, การเขียน หรือ ความเข้าใจในระบบสัญลักษณ์อื่นๆ หรือความบกพร่องใน การใช้) ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพยาธิวิทยาด้านการพูดและภาษาจะใช้เครื่องมือที่เหมาะสมเพื่อประเมินและวิเคราะห์ เกี่ยวกับความบกพร่องทางภาษา ส่วนใหญ่คลินิกของเราทำการประเมินความบกพร่องทางการพูด โดยแบ่งเป็น 3 ประเภทหลักได้แก่ การพูดไม่ชัด เสียงผิดปกติ และจังหวะการพูดผิดปกติ การพูดตะกุกตะกัก และความบกพร่องทางการพูดอย่างคล่องแคล่ว
เนื่องจากความผิดปกติของโครงสร้างและการทำงานของอวัยวะที่ใช้ในการพูดจึงทำให้เกิดอาการพูดไม่ชัด เราจึงใช้ ประเมินด้วยการทดสอบแบบต่างๆ เช่น การตรวจอวัยวะที่ใช้ในการออกเสียงภายในปาก การทดสอบโดยใช้พยัญชนะ รูปภาพ การทดสอบประโยคภาษาเกาหลี เป็นต้น
เนื่องจากความผิดปกติหรือบกพร่องในการทำงานของระบบประสาทกล้ามเนื้อที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของอวัยวะที่ เกี่ยวข้องกับการพูด ทำให้การออกเสียงลำบาก กล้ามเนื้อของอวัยวะที่ใช้ในการออกเสียงไม่สัมพันธ์กันจึงทำให้เกิดความ ผิดปกติในการออกเสียง ความไม่สัมพันธ์กันของกล้ามเนื้อระบบหายใจอาจทำให้เกิดเสียงแหบห้าวและความผิดปกติใน ด้านความดังของเสียงได้ เราจะตรวจโดยใช้เครื่องมือในการประเมินการออกเสียงและวิเคราะห์ความผิดปกติของเสียง
เป็นรูปแบบความผิดปกติของเวลาและจังหวะในการพูด อาการผิดปกติที่แสดงให้เห็นได้ชัด คือ การพูดติดอ่าง รวมถึงการพูดเร็วเกินไปและการพูดไม่คล่องแคล่วอีกด้วย เราใช้เครื่องมือ Paradise-Fluency Assessment: P- FA ในการประเมินความผิดปกติประเภทนี้
ในการประเมินการกลืนหลายๆด้าน เราใช้เครื่องมือทั้งที่เป็นเครื่องมือภาพและไม่ใช่ครื่องมือภาพ แต่ละวิธีให้ข้อมูล
บางส่วนเกี่ยวกับโครงสร้างของช่องคอ การทำงานของอวัยวะต่างๆที่ใช้ในการกลืน และการตรวจในขณะที่กลืน
และเมื่อเร็วๆนี้ได้นำการส่องกล้องภายวีดีโอมาใช้เพื่อตรวจโครงสร้างภายในช่องคอ และใช้ในการตรวจช่องคอและกล่อง
เสียงทั้งก่อนและหลังการกลืนมากขึ้น วิธีการตรวจนี้เราเรียกว่า FEES และเรียกว่า flexible fiberoptic examination ด้วย
ในการประเมินจะถูกบันทึกเทปวีดีโอไว้และในการตรวจด้วยวิธีนี้จะให้ภาพข้อมูลโครงสร้างช่องคอที่ละเอียดกว่า ทั้ง
ความสัมพันธ์ระหว่างฝาปิดกล่องเสียง(epiglottis) ทางเข้าทางเดินหายใจ(airway entrance) ช่องระหว่างลิ้นกับฝาปิด
กล่องเสียง (vallecula) aryepiglottic folds และ เนื้อเยื่อด้านข้างกล่องเสียง (pyriform sinuses) ข้อดีของการตรวจประเภทนี้คือไม่มีการใช้รังสี