สายเสียงของกล่องเสียงซึ่งเป็นแหล่งที่มาของเสียงถูกควบคุมโดยเส้นประสาทเวกัสซึ่งเป็นประสาทสมองเส้นที่ 10 ใน 12เส้น
โดยเส้นประสาทรีเคอร์เรนท์ลาริงเจียลและเส้นประสาทซุพีเรียร์ลาริงเจียลในแขนงของเส้นประสาทเวกัสทำให้กล้ามเนื้อก
ล่องเสียงและสายเสียงเคลื่อนไหวด้วยกันอย่างเป็นธรรมชาติซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดเสียง
เกิดการหายใจและเพื่อป้องกันอาหารตกลงไปในหลอดลม
สายเสียงจะดึงตัวเข้าหากันโดยการควบคุมของเส้นประสาทลาริงเจียล
เพื่อว่าแรงดันอากาศจะที่สร้างขึ้นภายใต้กล่องเสียงสร้างเสียงโดยผ่านจังหวะการเปิดและปิดของสายเสียง อย่างไรก็ตาม
เมื่อเส้นประสาทเป็นอัมพาต สายเสียงไม่สามารถเปิดและปิดได้อย่างเหมาะสมและยังคงเปิดอยู่
ทำให้ทางเดินอากาศหายใจและปอดไม่ได้รับการป้องกัน
ส่งผลให้เกิดการเสียงแหบและการไอเพราะอาหารตกลงไปและติดอยู่ที่หลอดลม
อย่างไรก็ตาม เป็นสิ่งสำคัญมากที่ควรจะรู้ว่อัมพาตของเส้นประสาทลาริงเจียลไม่ได้เป็นเพียงสาเหตุเดียวที่ทำให้เกิดการ
เคลื่อนไหวที่ผิดปกติของสายเสียง อาจจะมาจากสาเหตุอื่นๆ เช่น เนื้องอกในกล่องเสียง ข้อกระดูกแอริทินอยด์เคลื่อนจาก
การบาดเจ็บ ข้อต่อถูกทำลาย ความผิดปกติที่มีมาแต่กำเนิด การอักเสบ การติดเชื้อของกล่องเสียง สายเสียงเป็นแผล
ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่ควรจะหาสาเหตุที่แน่ชัดของโรค
ในบรรดาเส้นประสาทกล่องเสียงที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของสายเสียง เส้นประสาทรีเคอร์เรนท์ลาริงเจียล
จะเคลื่อนออกจากสมองไปตามหลอดเลือดแดงคาโรติดในลำคอพร้อมกับหลอดเลือดแดงซับคลาเวียนทางด้านขวาจากนั้
นจะกลับมาที่กล่องเสียงอีกครั้ง เนื่องจากเส้นประสาทรีเคอร์เรนท์ลาริงเจียลมีการหมุนเวียนที่ยาว
ดังนั้นอาจก่อให้เกิดการถูกทำลายของประสาทถ้าระบบร่างกายเกิดปัญหา
อัมพาตสายเสียงอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ สิ่งสำคัญคือเราจะต้องตรวจว่าโรคนี้รุนแรงถึงขั้นไหน สามารถที่จะรักษาได้หรือไม่ และต้องใช้เวลาในการรักษานานเท่าไร ดังนั้น วิธีการตรวจจะแตกต่างกันตามสาเหตุของโรค การตรวจ CT และ MRI จะใช้เมื่อจำเป็นเพื่อที่จะตรวจสอบความผิดปกติของสมอง เนื้องอกในสมอง ความผิดปกติในระบบประสาทส่วนกลางและระบบประสาทส่วนนอกเพื่อที่จะบ่งชี้เนื้องอกในช่องคอหรือความผิดปกติในเ ส้นโลหิตหรือเส้นประสาท การถ่ายภาพรังสี CT เป็นสิ่งที่จำเป็น และบางครั้งการทดสอบการทำงานของต่อมไทรอยด์และการวินิจฉัยด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงก็อาจจะจำเป็น การส่องตรวจด้วยกล้องและสโตรโบสโคปใช้สำหรับการบ่งชี้ความผิดปกติที่มีมาแต่กำเนิด การอักเสบและความผิดปกติของการทำงานของกล่องเสียง
การรักษาโรคอัมพาตสายเสียงข้างเดียวเริ่มมีมาเป็นเวลานานแล้ว ในปี 1911 ดร. วิลเฮม บรูนนิ่ง (Dr. Wilhelm Brunings เริ่มการรักษาสำหรับโรคอัมพาตสายเสียงเป็นคนแรกโดยการฉีดพาราฟินเข้าที่กล้ามเนื้อสายเสียงที่เป็นอัมพาต
วิธีนี้ได้ถูกนำมาใช้เป็นวิธีหลักในการรักษาโรคอัมพาตสายเสียงจนถึงปี 1970
แต่ในปัจจุบันไม่ได้ใช้อีกต่อไปเนื่องจากผลข้างเคียงทำให้เกิดแกรนูโลม่า
ต่อมาในปี 1915 ดร. เออร์วิน (Dr. Erwin Payr) ได้พัฒนาวิธีการผ่าตัดกระดูกอ่อนไทรอยด์ซึ่งเป็นโครงสร้างของกล่องเสียง
แต่จากนั้นไม่ได้มีทฤษฎีอย่างเป็นระบบจนกระทั่งปี 1950 และได้นำวิธีการนี้มาดำเนินการไม่มากนัก ต่อมาหลังจากที่ ดร.
อิสชิกิ (Isshiki) ได้พัฒนาวิธีการผ่าตัดโครงสร้างกล่องเสียง ขึ้นในปี 1974
การผ่าตัดต่อมไทรอยด์จึงนับเป็นเรื่องธรรมดาไป นอกจากนั้นการผ่าตัดโครงสร้างกล่องเสียงวิธีอื่นคือวิธีการ arytenoid
adduction ซึ่งได้เริ่มดำเนินครั้งแรกการกับผู้ป่วย 12 ราย โดยดร. สลาวิท (Dr. Slavit) และ ดร. มารากอส (Dr. Maragos)
ในปี 1992 เมื่อเร็วๆนี้ได้มีการนำวิธีการผ่าตัดทั้ง thyroplasty และ arytenoid adduction มาใช้ควบคู่กัน
ในปี 1977 ดร.ทักเกอร์ (Tucker)
ได้คิดค้นวิธีการผ่าตัดบางส่วนของกล้ามเนื้อโอโมไฮออยด์ออกซึ่งเชื่อมต่อกับเส้นประสาทไฮโปกลอสซัลและปลูกถ่ายไปยัง
กล้ามเนื้อสายเสียง (กล้ามเนื้อไทรอริทีนอยด์)
วิธีการนี้เป็นการนำเส้นประสาทอื่นไปแทนที่เส้นประสาทที่เป็นอัมพาตในสายเสียง อย่างไรก็ตาม
วิธีการนี้ไม่ได้ถูกนำมาใช้มากเนื่องจากต้องใช้เวลานานในการฟื้นฟูการทำงานของสายเสียง ต่อมาในปี 1984 ดร. ฟอร์ด
(Dr. Ford) ได้พัฒนาวิธีการฉีดคอลลาเจนเข้าที่สายเสียง และในปี 1991. ดร. Mikaelian ได้นำเสนอวิธีการปลูกถ่ายไขมัน
วิธีการผ่าตัดล่าสุดที่นำมาใช้คือ Percutaneous Injection Laryngoplasty
และได้นำเสนอวิธีนี้ต่องานประชุมสัมมนาทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติโดยดร.ฮยองแทคิม ผู้ช่วยศาสตราจารย์
มหาวิทยาลัยแพทย์คาทอลิกประเทศเกาหลี และ ณ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการเยซอนคลินิก วิธีนี้เกี่ยวข้องกับการ
ฉีด Artecoll ในเอ็นสายเสียงโดยใช้คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ