เป็นการศัลยกรรมโดยการให้ยาระงับความรู้สึกกับคนไข้ จากนั้นสอดเครื่องมือส่องตรวจกล่องเสียงเข้าไปในปาก การ
ศัลยกรรมนี้จำเป็นต้องอาศัยเทคนิคการศัลยกรรมที่ซับซ้อนโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ขยายเพื่อเพื่อดูและใช้เลเซอร์กำจัดส่วน
ติ่งเนื้อออกเพื่อที่จะรักษาเนื้อเยื่อที่ยึดต่อใต้บุผิวสายเสียงและเอาเยื่อบุผิวส่วนที่ไม่ดีออกเท่านั้น จึงได้นำเอาเทคนิค
Submucosal infusion และ Micro Mini-flap มาใช้
การศัลยกรรมวิธีนี้แทบจะไม่มีภาวะแทรกซ้อน เว้นแต่บางครั้งอาจจะมีเลือดออกเล็กน้อยหรือมีอาจการปวดได้ในบางราย
เนื่องจากมีการสอดเครื่องมือแพทย์เข้าไปทางช่องคอ แต่จะค่อยๆดีขึ้นตามลำดับหลังการศัลยกรรมและหลังจากศัลยกรรม เสียงอาจจะแย่ลงได้ในช่วงแรกๆหลังการศัลยกรรมซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ และจะค่อยๆฟื้นตัวเป็น
ปกติพร้อมกับแผลที่ดีขึ้น
เป็นเทคนิคการศัลยกรรมฟื้นฟูเสียงให้เป็นปกติโดยการแยกส่วนที่เป็นรอยโรคและเนื้อเยื่อที่ยึดต่อใต้บุผิวสายเสียงออก จากกันเพื่อรักษาเนื้อเยื่อใต้ผิวของสายเสียงให้มากที่สุด
ได้จัดทำวิทยาพนธ์ที่นำเสนอเกี่ยวกับการศัลยกรรมเทคนิค Micro Mini-flap นั้นเป็นวิธีใหม่สำหรับการรักษาโรคกล่องเสียง
โดยการดูโครงสร้างจุลภาคผ่านทางกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนและขั้นตอนการรักษาแผลและขั้นตอนการดูแลรักษาสาย
เสียงหลังจากการศัลยกรรมกล่องเสียงด้วยการส่องกล้อง (Influence of phonation on basement membrane zone
recovery after phonomicrosurgery: a canine model. Annals of Otology, Rhinology & Laryngology
2000;109:658-666 ร่วมจัดทำโดย นายแพทย์ คิม ฮยอง แท)
เพื่อที่จะฟื้นฟูสมรรถภาพเสียง
ส่วนที่สำคัญที่สุดนอกจากจะขึ้นอยู่กับการปกป้องรักษาเนื้อเยื่อยึดต่อใต้บุผิวของสายเสียงแล้ว
ขั้นตอนการรักษาและการพักเสียงก็เป็นส่วนที่สำคัญของการฟื้นฟูสมรรถภาพเสียงด้วยเช่นกัน
จากผลงานวิจัยนี้ พบว่าหลังจากการศัลยกรรมสายเสียงรวมทั้งการศัลยกรรมด้วยวิธี micro mini-flap ได้รับการพัฒนามา
เป็นวิธีการศัลยกรรมที่ทำให้เสียงกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้แล้ว
การศัลยกรรมด้วยเทคนิค micro mini-flap นั้น เมื่อก่อนนำมาใช้กับนักร้องประสานเสียงหรือผู้ที่มีอาชีพใช้เสียงได้ยาก แต่
ปัจจุบันนี้สามารถนำมาใช้เป้นวิธีรีกษาที่ได้ผลดี และสามารถนำมาช่วยพัฒนาและฟื้นฟูเสียงให้กลับเป็นปกติได้อีกด้วย