การศัลยกรรมสายเสียงเริ่มแรกของโลกค้นพบการใช้วิธีการตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อแล้วใช้
วิธีที่เรียบง่ายโดยการฉีดยาเข้าที่คอโดยไม่มีการใช้ยาระงับความรู้สึกหรือการกรีดผิวหนังแต่อย่างใด
แต่เมื่อไม่นานมานี้ เนื่องจากมีการพัฒนาระบบส่องกล้องดิจิตอลตรวจภายในกล่องเสียงขึ้น
จึงไม่ต้องใช้วิธีการตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อก็สามารถทำการศัลยกรรมได้
การศัลยกรรมสายเสียงด้วยการฉีดยาผ่านผิวหนังโดยใช้การตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อนั้นได้พัฒนาโดยได้รับประสบการณ์
การตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อมากกว่า 1000 ครั้งเป็นพื้นฐาน และได้ทดลองกับสัตว์หลายร้อยครั้ง
และศัลยกรรมคนไข้เป็นครั้งแรกในปี 1997
และได้นำเสนอผลการรักษาต่อสมาคมทางวิชาการระดับชาติในงานสัมมานาด้านโสตนาสิกลาริงซ์วิทยาครั้งที่ 4 ในปี
1998 (4th Korean Otolaryngology General Learned Society Presentation 1998) รวมทั้งนำเสนอต่อสมาคมวิชาการระดับนานาชาติในงานสัมมนาด้านการศัลยกรรมตกแต่งเสียง
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครั้งที่ 2(2nd East Asian Orthopedic Learned Society) และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี
นอกจากนั้นได้รับคัดเลือกให้เป็นวิธีการรักษาแบบใหม่และได้รับเชิญให้นำเสนอในงานประชุมสัมมนาประจำปีครั้งที่ 32
ของสมาคมวิชาการทางด้านเสียงของสหรัฐอเมริกา ณ เมืองฟิลาเดลเฟีย ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2003
1. ไม่ต้องใช้ยาระงับความรู้สึก
2. ใช้เวลาในการศัลยกรรมประมาณ 15 – 20 นาทีเท่านั้น
3. สามารถศัลยกรรมได้โดยไม่สัมพันธ์กับสภาพร่างกายของผู้ป่วย
4. ผู้ป่วยเกือบจะทุกรายสามารถใช้วิธีศัลยกรรมนี้ได้
5. ไม่มีการผ่าหรือกรีดผิวหนัง
6. สามารถเลือกตัวยาที่เหมาะกับโรคต่างๆของผู้ป่วยได้
7. สามารถฉีดเข้าบริเวณที่เหมาะสมกับอาการหรือโรคของผู้ป่วยได้
1. จำเป็นต้องใช้เครื่องมือแพทย์ทันสมัยที่ราคาสูง
2. จำเป็นต้องมีความรู้ที่ถูกต้องและประสบการณ์เกี่ยวกับเครื่องตรวจไฟฟ้ากล้ามเนื้อ
3. จำเป็นต้องมีประสบการณ์และเทคนิคทางการแพทย์สูง